Skip to main content

Posts

Showing posts from February, 2023

พุทธธรรม ๑๔.มรรค ๑.ปัญญา.mp3

  "อริยมรรค หมวดปัญญา" สัมมาทิฏฐิ และ สัมมาสังกัปปะ || เสียงอ่านหนังสือ  พุทธธรรมฉบับปรับขยาย ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร บทที่ ๑๔ องค์ประกอบของมัชฌิมาปฏิปทา หมวดที่ ๑: หมวดปัญญา || สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)  จากต้นฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๕๕  || อ่านโดย.. อริยคุณ ชมรมผลดี facebook.com/jz.net "มรรค" คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่าทางมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ เรียกสามัญว่า มรรคมีองค์ ๘  เริ่มต้นด้วยหมวดปัญญา ได้แก่มรรคข้อ ๑.สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ  ข้อ๒.สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ : เป็นจุดเริ่มต้นและทำให้มรรคในหมวดอื่นเจริญถูกทางได้จริง  โดยเฉพาะสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตเพื่อการตรัสรู้ตามเป็นจริง ซึ่งอริยสัจ ๔ ประการ  หัวข้อภายใน : ความสำคัญ คำจำกัดความ ข้อควรทราบเกี่ยวกับสัมมาทิฎฐิ พร้อมพุทธพจน์ที่เกี่ยวข้อง  ทิฏฐิสองระดับ (โลกิยสัม-โลกุตร)  , สัมมาทิฏฐิกับการศึกษา , การฝึกหัดศีล อบรมความประพฤติ, แนวทางพัฒนาบุคคลผิด ๒ แบบ , สัมมาสังกัปปะ (ขั้นโลกิยะ-โลกุตระ)  อธิบายความเข้าใจผิดในพุท...

วิญญาณคืออะไร (๒).mp3

"วิญญาณคืออะไร" (๒) อ.พร รัตนสุวรรณ   : การศึกษาเรื่องวิญญาณ สำหรับผู้เริ่มต้น (แต่เข้มข้นในเชิงวิชาการ) พร้อมคำถามตอบปัญหาเกี่ยวกับวิญญาณ : มีพุทธพจน์ว่า.. "วิญญาณ เป็นรากฐานของสิ่งทั้งปวง  สิ่งทั้งปวงสำเร็จมาแต่วิญญาณ   วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป"  ซึ่งทุกสรรพสิ่งในจักรวาลสรุปเหลือเพียงนามธรรม กับรูปธรรมเท่านั้น    การรู้แจ้งเรื่องวิญญาณ ที่เป็นรากฐานของสิ่งทั้งปวง จะทำให้เข้าใจหลักปฏิจสมุปบาท กฎแห่งกรรม การเกิดภพชาติ และทุกสรรพสิ่ง จะทำให้เข้าใจในหลักอริยสัจและข้อธรรมอื่นได้ง่ายขึ้น จะเกิดคุณธรรมในใจเช่นความเกรงกลัวละอายบาปด้วยเห็นชัดตามหลักกรรม มีผลต่อการละสักกายทิฏฐิ ความถือมั่นว่ากายใจนี้เป็นเรา  , วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในบาปบุญและกฎแห่งกรรม ฯลฯ  , สีลัพพตปรามาส ความเชื่อถืองมงาย ข้อปฏิบัติที่ไม่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญขั้นต้นในการบรรลุธรรม : อ่านโดย.. อริยคุณ(โจโฉ) ชมรมผลดี  ฟังหนังสือ-สำนักค้นคว้าทางวิญญาณทั้งหมดที่นี่   https://www.youtube.com/playlist?list=PLzUDnIIG_BlLabeFQiyqobzAy7cg6dBtd ...

พุทธธรรม ๑๓.โยนิโสมนสิการ mp3

เสียงอ่านหนังสือ : พุทธธรรมฉบับปรับขยาย บทที่ ๑๓ บุพภาคของการศึกษา บุพนิมิตที่ ๒  "โยนิโสมนสิการ"  ปัจจัยภายในแห่งสัมมาทิฎฐิ วิธีการแห่งปัญญา เป็นสิ่งที่จะขาดไม่ได้ เป็นรากฐานสำคัญแห่งอริยมรรค  เป็นตัวการสำคัญสู่ชีวิตที่ดี   || สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)  จากต้นฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๕๕  ||  เสียงอ่านโดย.. อริยคุณ (โจโฉ) ชมรมผลดี "โยนิโสมนสิการ" แปลว่า..  การทำในใจโดยแยบคาย หรือคิดถูกวิธี แปลง่ายๆ ว่า ความรู้จักคิด หรือคิดเป็น หมายถึง การคิดอย่างมีระเบียบ หรือคิดตามแนวทางของปัญญา คือ การรู้จักมอง รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลายตามสภาวะ เช่น ตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน โดยวิธีคิดหาเหตุปัจจัย สืบค้นถึงต้นเค้า สืบสาวให้ตลอดสาย แยกแยะสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆ ออกให้เห็นตามสภาวะ และตามความสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัย โดยไม่เอาความรู้สึกด้วยตัณหาอุปทานของตนเองเข้าจับ หรือเคลือบคลุม ทำให้เกิดความดีงาม และแก้ปัญหาได้ "หัวข้อสำคัญภายใน+พุทธพจน์ที่เกี่ยวข้อง" ฐานะของความคิดในระบบการดำเนินชีวิตที่ดี & การพัฒนาปัญญา จุดเริ่มและกระบวนการของสิกขา-ศึกษา...